วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2556

ศึกษาดูงาน


ศึกษาดูงาน

           การศึกษาตามโครงการศึกษาดูงานนอกสถานที่ ชั้นปีที่ 3 สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ ในครั้งนี้ ก็เพื่อให้นักศึกษาได้ออกมาเปิดโลกทัศน์ มองว่าคนอื่นหรือสถาบันอื่นๆ เขามีความก้าวหน้า มากเพียงใด สิ่งใดที่ เป็นข้อได้เปรียบของเรา สิ่งใดเป็นข้อจำกัดของเรา เป็นการออกไปข้างนอกเพื่อย้อนมองกลับมายังตัวเอง และทบทวนเพื่อให้เกิดการพัฒนา active ตัวเองอยู่ตลอด ถือเป็นโครงการที่มีประโยชน์ และมีความสำคัญกับตัวนักศึกษา เป็นอย่างมาก ทั้งในด้านของแนวคิดการทำงาน การได้ใช้ความรู้ที่ได้ศึกษามาใช้ในการ ซักถามหรือแสดงความคิดเห็นต่างๆ กับผลงานต่างๆ ที่เรามีความสนใจ ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อีกด้วย


การเดินทางอันแสนยาวนาน

เรานัดกัน เวลา 7.30 น. ที่ ตึกวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ มีรถบัส 2 คน มาจอดรอ เพื่อนๆที่เดินทางไปด้วยกันครั้งนี้ มี เพื่อนภาคปกติ เทียบโอน และวิทยาเขตมุกดาหาร เมื่อคนพร้อมออกเดินทางประมาณ 7.45 น. ล้อเคลื่อนออกไป ที่ ศาลพระพรหม ซึ่งเป็น สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่ลูกหลานชาว ม.อุบล นับถือและเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ ใช้เวลาที่ศาลพระพรหม ไม่นาน เราออกเดินทางจาก ม.อุบล เวลา 8.00 น. เพื่อไปรับเพื่อนๆที่วิทยาเขตมุกดาหารไปด้วย ใช้เวลาในหารเดินทางไปที่วิทยาเขตอยู่นานพอสมควร ไปถึงวิทยาเขตก็ เกือบ 11.00 น. จอดรับไม่นานไม่ถึง 10 นาทีด้วยซ้ำ เราก็ออกเดินทางการต่อ เพื่อไปที่ ศูนย์การเรียนรู้ชุมชมบ้านภู ซึ่งต้องวิ่งขึ้นลงภูเขา มันตื่นเต้นมากๆเลยครับ เมื่อถึงบ้านภู ซึ่งชาวบ้านภู มีการต้อนรับอย่างดี ซึ่งผมเห็นแล้วก็ อึ้งอยู่ และคิดว่าเพื่อนๆ คนคิดไม่ต่างกัน ประมาณว่า ขนาดนี้เลยหรอ คือในบรรยกาศ มีคนมายืนเข้าแถว เป็นทางยาวให้เราเดินเข้าไป พร้อมกับกล่าวทักทายเรา ตลอดการเดินผ่านเข้าไปในศาลา ผมมองว่าชาวบ้านภู ถือเป็นหมู่บ้านหนึ่ง ที่มีความเข้มแข็ง มาก ซึ่งตั้งแต่เกิดมาผมก็ไม่เคยเห็นหมู่บ้านไหนที่ทำได้ขนาดนี้ คือทุกคนในหมู่บ้าน มีความคิดและศุนย์รวมใจจิตใจร่วมกัน ยิ่งเป็นงานของหมู่บ้านคือทุกคนออกมาช่วยเหลือกัน แต่งตัวชุดประจำเผ่าออกมา ยิ่งสุดยอดไปเลยครับ เราใช้เวลาอยู่ที่บ้านภู ไม่นาน เพราะเราต้องเดินทางต่อไปที่จังหวัดขอนแก่น หลังจากนั้นก็เดินทางไป เขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น ตามแผน


ณ เขื่อนอุบลรัตน์

เมื่อเดินทางถึงเขื่อนอุบลรัตน์ ก็เป็นเวลา เกือบ 3 ทุ่ม ทุกคนต่างเหน็ดเหนื่อยกับการเดินทางอันแสนยาวนาน อาจารย์ ให้ทุกคนเข้าห้องนอน พร้อมกัยนัดเวลาตามกำหนดการของวันต่อไป


ผ่านไป 1 คืน ที่ เขื่อนอุบลรัตน์

เวลา 8.00 น. เวลานัด ตามแผนเราต้องเดินทางไปที่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อรับประทานอาหารเช้า และศึกษาดูงาน NSC เมื่อเดินทางถึง เรารับประทานอาหารใช้กันที่ คอมเพล็ก แล้วไปดูงาน NSC กันที่ สำนักคอมพิวเตอร์ ซึงตั้ง อยู่ตรงข้ามกัน


เข้าดูงาน NSC ที่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

เมื่อ เดินเข้าไปในงาน มีคนเดินเข้าเดินออกมามาก มีผลงานที่ผ่านการคัดเลือก เยอะมาก ตอนแรกผมคิดว่า มันต้องมีอะแปลกๆ เด็ดๆ เจ๋งๆ มาให้เราได้ดูกัน เพราะเราเดินทางมาไกลๆ ก็เพื่องานนี้โดยเฉพาะ ยืนดูห่างๆ อยู่นาน ก็เป็นเวลาของการเดินเข้าไปถามข้อสงสัยที่เก็บ ไว้ มาน ซึ่งโครงการต่างๆ ผมคิดว่ามันก็ธรรมดานะ ไม่ได้แปลกใหม่อะไรมากมาย ซึ่งที่โชว์ ก็คือสิ่งที่มีอยู่แล้ว ทำให้ตัวผมเองรู้สึกผ่อนคลายกับการทำ Project จบ ลงไปพอสมควร แต่การยากจริงๆ คงจะอยู่ที่การหาหัวข้อมากกว่าการทำ Project ซะด้วยซ้ำ แต่ก็ถือว่าดีมากๆ เลยครับ เวลาประมาณ 13.00 น. เราก็ออกเดินทางกลับเพื่อมาศึกษาดูงานที่ เขื่อนอุบลรัตน์


ณ เขื่อนอุบลรัตน์ กับการดูระบบงานที่ ไฮเทค

เราเดินทางถึงเขื่อนอุบลรัตน์ประมาณบ่าย 2 โมง พักผ่อน ประมาณ 10 นาที เราก็เข้ารับฟัง เรื่องการบริหารงานของเขื่อนอุบลรัตน์และงานต่างๆ ที่ ศูนย์ควบคุมไฟฟ้าเขื่อนอุบลรัตน์ ดูและ  ณ ตรงนี้ ความรู้มันยิ่งเพิ่มขึ้นมาอีก ความเข้าใจต่างๆ ที่มีแบบผิดๆ ของผมเกี่ยวกับเรื่องไฟฟ้า ก็มาก ปิ๊งๆ ที่นีแหละครับ เราเดินทางไปดูการบริหารจัดการไฟฟ้า ในเขตภาคอีสาน ซึ่งศูนย์ควบคุมก็อยู่ที่เขื่อนอุบลรัตน์นี้เอง ซึ่งศูนย์นี้ จะดูและเกี่ยวกับ การเปิดปิด เครื่องกำเนิดพลังงานไฟฟ้า ซึ่งความคุมง่าย แค่ปลายนิ้วสัมผัส ก็สามารถ เปิด ในน้ำเข้าเขื่อนแล้วผลิตกระแสไฟฟ้าได้เลย แม้เขื่อน สิรินธร จะตั้งอยู่ที่ จังหวัดอุบล แต่ศูนย์นี้ก็เป็นผูควบคุมได้เลย ผมตื่นตาตื่นใจกับระบบงานภายในของศูนย์นี้มากๆเลยครับ เพราะในความคิดคือการผลิตการแสไฟฟ้า กว่าจะได้มาคงยากมากๆ หลังจากนั้น เราเดินทางกลับที่พัก พร้อมกับโจทย์ ใหม่ คือ เราต้องเตรียมการแสดง ในคืนนี้ด้วย


คืนแห่งความสนุกสนาน

เวลาประมาณ 18.00น. เวลานัด รับทานอาหารพร้อมกันที่ห้องรับประทานอาหาร เมื่อเสร็จ แต่ละกลุ่มก็ออกมาแสดง ตามที่ได้เตรียมกันไว้ คืนนี้ทุกคนมีความสุขสนุกสนานกันมาก มีรอยยิ้ม มีเสียงหัวเราะ เวลาแห่งความสุขมันผ่านไปเร็ว เวลา 22.00 น. ถึงเวลานอน ทุกคนแยกย้ายกันกลับไปพักผ่อน และ เจอกันเวลา 8.00 น.เพื่อเดินทางต่อไป


ไปดูไดโนเสาร์

เวลา 8.00 น. เราเดินทางออกจากเขื่อนอุบลรัตน์พร้อมกับสัมภาระ เพื่อเดินทางไปที่พิพิธภัณฑ์สิรินธร เพื่อไปดูไดโนเสาร์กัน ภายในพิพิธภัณฑ์ มีการนำเสนอโดยใช้ระบบสารสนเทศมาช่วย อย่างสวยงามและน่าสนมจมากๆ เลยทีเดียว มี Animation สวยๆ ให้ดู สุดยอดครับ หลังจากนั้นก็ได้เวลาเดินทางกลับอุบลราชธานีแล้ว


เดินทางกลับก็ยาวนานไม่แพ้กัน

เนื่องจากเราเดินทางไปเรื่อยๆ แวะพักบ้างเมื่อเหนื่อย เราจึงใช้เวลาในรถ เกือบตลอด การดูงานครั้งนี้ และอีกอย่างคือเราต้องวิ่งไปรับเพื่อนวิทยาเขตมุกดาหารด้วย ซึ่งมันเป็นการเดินทางที่ ยาวไกลและยาวนานมาก เราเดินทางถึง มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เวลา ประมาณ เกือบ 6 โมงเย็น เริ่มมืดแล้ว ทุกคนเดินทางถึงบ้านอย่างปลอดภัย ต้องขอบคุณท่านอาจารย์ ที่อยู่ดูแลพวกเราจะเดินทางกลับมาโดยปลอดภัยและอีกคนที่ขาดไม่ได้ คือคุณน้า คนขับรถ ที่ขับรถอย่างนุ่มนวนและนำพาพวกเราเดินทางถึงบ้านของพวกเราโดยสวัสดิภาพ
สำหรับการออกไปทำกิจกรรมนอกสถานที่ในครั้งนี้ ได้อะไรกลับมาหลายๆอย่าง ทั้งประสบการณ์การงาน การเรียนรู้และได้เห็นสิ่งใหม่ มีเพื่อนใหม่ๆ (มีเพื่อนๆจากวิทยาเขตมุกดาหารไปด้วย)


กลยุทธ์ ของหน่วยงานที่เราเดินทางไปศึกษาดูงาน

เขื่อนอุบลรัตน์ มีทัศนียภาพที่สวยงาม เนื่องจากเป็นภูเขา มีงานจัดสวนดูเขียว มองไปแล้วสดชื่น อีกทั้งการบริหารจัดการด้วยระบบสาสนเทศที่ทันสมัย
มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นมหาวิทยาลัยดังแห่งหนึ่งในประเทศไทย จากมองภายนอกแล้วเป็นมหาวิทยาลัยที่จัดสวัสดิการ เพื่อนักศึกษา ดีแห่งหนึ่ง จากที่เห็น เช่น มีรถบัส บริการวิ่งรับส่งนักศึกษาฟรี มีสถานที่พักผ่อนหย่อนใจให้กับนักศึกษาเพียงพอ  สถานที่น่าอยู่ น่าเรียน ฯ
NSC เป็นการแข่งขันผลิต Software มีหลายประเภทให้นักศึกษาเลือกสมัครประกวด ซึ่งไม่ได้มีแค่นักศึกษา ยังมีนักเรียนด้วย ผมมองว่าเป็นการเปิดโอกาสที่เปิดกว่ามาก เป็นโครงการดีๆ ที่ส่งเสริมคนไทยในทัดเทียมต่างประเทศได้

พิพิธภัณฑ์สิรินธร เป็นอีกหน่วยงานที่มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ ในการนำเสนอเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับไดโนเสาร์ ซึ่งทำให้มีความน่าสนใจ ไม่ใช่แค่เดินทางไปดูกระดูกแล้วเดินทางกลับทำให้ไม่รู้สึกว่าเสียเที่ยว ถือเป็นสถานที่ที่น่าประทับใจอีกที่หนึ่งเลยรับ

ขอบคุณครับ  5311402246  นายอาทิตย์   สารภาพ

วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2556

Green Ocean Strategy

กลยุทธ์น่านน้ำสีเขียว หรือ Green Ocean Strategy 


      จึงเป็นหนทางที่จะช่วยธุรกิจยกระดับการทำงานเพื่อให้ได้มาซึ่งกำไรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และโอกาสในการเข้าถึงตลาดที่มีความต้องการเรื่องการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งการตอบสนองต่อพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีความห่วงใยในความปลอดภัย สุขอนามัย และคุณภาพชีวิต ภายใต้วิถีแห่งการบริโภคที่ยั่งยืนซึ่งเป็นกระแสหลักของโลกอยู่ในขณะนี้


บริษัท Thaioil จำกัด (มหาชน)(CSR)


             ในฐานะบริษัทผลิตพลังงานชั้นนำของภูมิภาคเอเชีย ไทยออยล์มุ่งมั่นพัฒนาธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนควบคู่การดูแลเอาใจใส่ต่อสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยของชุมชนและให้ความช่วยเหลือสังคมด้วยความตั้งใจจริง ด้วยการใช้จุดแข็งและประสบการณ์ความเชี่ยวชาญด้านพลังงานของบริษัทฯ ที่สั่งสมมาเกือบ 50 ปี มาใช้ทำงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (CSR) ของไทยออยล์ ให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยมุ่งดำเนินนโยบายด้าน CSR ทั้งในระดับมิติชุมชนรอบโรงกลั่นควบคู่กับมิติระดับประเทศ ในท้องถิ่นที่สาธารณูปโภคของรัฐไม่สามารถเข้าถึง เน้นการนำพลังงานที่มีอยู่ในธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์ แทนการปล่อยทิ้งโดยสูญเปล่าอิงกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงที่ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรท้องถิ่นให้มากที่สุด รวมถึงการส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีเป้าหมายให้ชุมชนในพื้นที่ห่างไกลที่ขาดโอกาสทางสังคมได้มีความสามารถในการจัดการทรัพยากรของตนเอง เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ทางสังคมหรือคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น



Cr.http://www.thaioilgroup.com

แนวคิดนักธุรกิจ

"ปลาวาฬ วรสิทธิ์ อิสสระ"

“ศรีพันวา“ รีสอร์ทมูลค่ากว่า 6 พันล้านของ “ปลาวาฬ อิสสระ“



"ปลาวาฬ" เริ่มมีชื่อเสียงโด่งดังในวงการอสังหาริมทรัพย์ และการท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น หลังจากที่เรียนจบการโรงแรมจากต่างประเทศ และกลับมาอยู่เมืองไทยได้ไม่นาน พ่อของปลาวาฬ 
"สงกรานต์ อิสสระ" ตัดสินใจครั้งใหญ่ ทำโครงการบ้านพักตากอากาศ ที่จังหวัดภูเก็ต เป็นครั้งแรก และมีแผนพัฒนาให้เป็นโรงแรม เพราะเชื่อว่าธุรกิจสามารถเกื้อกูลกันได้

ปลาวาฬใช้เวลากว่า 6 ปีเต็ม ทำงานอยู่ที่โครงการศรีพันวา ซึ่งมีทั้งในส่วนของโรงแรมและบ้านพักตากอากาศส่วนตัว บนปลายแหลมพันวาของเกาะภูเก็ต ในตำแหน่ง  Manager Director ถึงแม้ปลาวาฬจะกินตำแหน่งในระดับสูง แต่หนุ่มคนนี้ก็ยังลงมือลงแรงทำงานแทบทุกอย่างด้วยตัวเอง

 "งานด้านโรงแรมใครๆ ก็รู้ว่ามีปัญหาเฉพาะหน้าให้แก้ไขได้ทุกวัน แม้จะมีพนักงานร่วมๆ 250 คนก็ตามที แต่ผมก็ยังลงมือไปช่วยพวกเขาตั้งแต่งานก่อสร้าง งานขายและการตลาด เพื่อที่จะเรียนรู้ปัญหาและวธีแก้ไขเก็บเกี่ยวไว้เป็นประสบการณ์ สำหรับปรับใช้ในโครงการอื่นๆ ของเรา ดังนั้นเวลาทำงานแลัวมีปัญหา ผมจะมองให้เป็นเรื่องสนุกและท้าทายเสมอ"

จากแนวคิดและการลงมือทำงานของ "ปลาวาฬ วรสิทธิ์ อิสสระ"  ทำให้ "ศรีพันวา รีสอร์ท" กลายเป็นดินแดนในฝันของหลายๆคน และมีชื่อเสียงโด่งดังทั้งในประเทศไทย รวมไปถึงต่างประเทศจนทุกวันนี้



Cr.  http://men.mthai.com
       http://money.sanook.com